วิตามิน คืออะไร

สารประกอบอินทรี ที่มีปริมาณน้อยแต่มีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกายมนุษย์ วิตามินมีความแตกต่างจากสารอาหารจำเป็นประเภทอื่น เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แม้ว่าสารอาหารเหล่านี้เป็นสารอาหารที่ขาดไม่ได้และมีความจำเป็น แต่ร่างกายสามารถสร้างได้เองในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ

ในทางกลับกันมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินได้เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ มนุษย์จึงจำเป็นต้องได้รับวิตามินจากอาหารหรือแหล่งอื่นๆ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมวิตามินจึงถือว่าเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญ ร่างกายของเราต้องการวิตามินเพียงเล็กน้อยเพื่อเป็นตัวเร่ง หรือควบคุมปฏิกิริยาเคมีที่สำคัญในร่างกา ดังนั้นหากร่างกายขาดหรือได้รับวิตามินไม่เพียงพออาจทำให้เกิดโรคได้

การแบ่งประเภทของวิตามิน

แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ วิตามินละลายในน้ำ และวิตามินละลายในไขมัน

  1.  วิตามินละลายในน้ำ จะถูกขับออกทางปัสสาวะ จึงอยู่ในร่างกายได้ไม่นาน ดังนั้นร่างกายจึงต้องการวิตามินละลายน้ำมากกว่าวิตามินที่ละลายในไขมัน
  2. วิตามินละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน A วิตามิน D วิตามิน E และวิตามิน K ซึ่งวิตามินเหล่านี้จะถูกสะสมในเซลล์ไขมันและตับ สามารถอยู่ในร่างกายได้ในระยะเวลาหลายวันหรือหลายเดือน การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงจะช่วยในการดูดซึมวิตามินเหล่านี้

ชนิดของวิตามิน หน้าที่ อาการที่เกิดขึ้นหากขาดวิตามินและแหล่งที่มา

ชนิดของวิตามินชื่ออื่น ๆหน้าที่อาการที่เกิดขึ้นหากขาดวิตามินแหล่งที่มาของวิตามิน
วิตามินละลายในน้ำ
วิตามิน B1Thiamineเป็นส่วนประกอบในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต รวมไปถึงช่วยในการทำงานของระบบประสาทระบบประสาทและกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ  ยีสต์ เนื้อหมู ผลิตภัณฑ์ซีเรียล เมล็ดทานตะวัน หน่อไม้ฝรั่งดอกกระหล่ำปลี มันฝรั่ง ส้ม ตับและไข่  
วิตามิน B2Riboflavinเป็นส่วนประกอบในการสร้างพลังงาน รวมไปถึงกระบวนการเผาผลาญไขมัน วิตามิน แร่ธาตุผิวหนัง ลิ้น ริมฝีปากอักเสบ การทำงานของสายตาถูกรบกวนและมีอาการของระบบประสาท หน่อไม้ฝรั่ง กล้วย นม โยเกิร์ต เนื้อ ไข่ ปลา
วิตามิน B3Niacin, Nicotinic acid, Nicotinamideเป็นส่วนประกอบในกระบวนการเผาผลาญระดับเซลล์ กระบวนการออกซิเดชันของไขมันและกระบวนการสร้างสเตียรอยด์มีแผลที่ผิวหนัง ระบบทางเดินอาหารทำงานผิดปกติ มีอาการทางระบบประสาทไก่ เนื้อวัว ปลาทูน่า แซลมอน นม ไข่ มะเขือเทศ บล็อกโคลี่ แครอท ผักใบเขียว ถั่ว เต้าหู้

วิตามิน B5Pantothenic acidเป็นตัวช่วยในกระบวนเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมันอ่อนเพลีย ไม่มีแรง การทำงานของระบบย่อยอาหารผิดปกติ นอนไม่หลับ กระวนกระวาย คลื่นไส้เนื้อ ธัญพืช
บล็อกโคลี
อะโวคาโด โยเกิร์ต
วิตามิน B6Pyridoxine, Pyridoxal, Pyridoxamineเป็นส่วนประกอบในกระบวนการเผาผลาญกรดอะมิโนและสารที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ช่วยในกระบวนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผิวหนังอักเสบ สับสน ชัก โลหิตจางถั่ว ตับ กล้วย
วิตามิน B7Biotinเป็นตัวช่วยในกระบวนเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโนและไขมันผิวหนังอักเสบ ผมร่วง กระจกตาอักเสบ มีอาการทางระบบประสาทไข่แดง ตับ
บล็อกโคลี ผักโขม ชีส
กรดโฟลิกFolate, Folacin, Pteroylglutamic acidเป็นตัวช่วยในกระบวนการสร้างสารพันธุกรรม(DNA) การแบ่งเซลล์ กระบวนการเผาผลาญโปรตีนและการเจริญเติบโตของเม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดแดงเจริญผิดรูปอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ใจสั่น ปากอักเสบ มีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์หากขาดในสตรีมีครรภ์ผักใบเขียว ถั่ว ตับ ธัญพืช เม็ดทานตะวัน ผลไม้
วิตามิน B12Cobalamin, Cyanocobalaminเป็นตัวช่วยในกระบวนเผาผลาญกรดอะมิโน รวมไปถึงกรดโฟลิกและไขมัน รวมทั้งช่วยในการสร้างเซลล์ใหม่ของร่างกาย การสร้างเม็ดเลือดและการทำงานของระบบประสาทเจ็บลิ้น การรับรู้ช้าลง มีอาการทางระบบประสาท และการทำงานของทางเดินอาหารผิดปกติ โลหิตจางปลา หอย เนื้อหมู สัตว์ปีก ไข่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเหลือง
วิตามิน CAscorbic acidสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยสร้างคอลลาเจน คาร์นีทีน กรดอะมิโนและฮอร์โมนรวมทั้งเป็นวิตามินที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและเป็นตัวช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กเหงือกบวมและเลือดออกข้อติด มีเลือดออกใต้ผิวหนัง แผลหายช้า โลหิตจางผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว เบอร์รี่ต่างๆ ผัก เช่น บล็อกโคลี่ มันฝรั่ง
วิตามินละลายในไขมัน
วิตามิน ARetinol, Retinal, Retinoic acid, Beta-carotene (plant version)  เป็นตัวช่วยในการมองเห็น คงความแข็งแรงของเซลล์เยื่อบุผิวหนัง ช่วยในระบบสืบพันธุ์และพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์มีผลต่อการทำงานของสายตา อาจทำให้ตาบอดได้ ผิวแห้ง เจริญเติบโตช้าในเด็ก มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อตับ น้ำมันตับปลา แครอท บล็อกโคลี่ มันฝรั่ง เนย ผักโขม ฟักทอง ชีส ไข่ นม
วิตามิน DCalciferol, Calatriol, Cholecalciferol, Ergocalciferolช่วยรักษาระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือด ช่วยเสริมสร้างแร่ธาตุในกระดูกการเจริญเติบโตของกระดูกผิดปกติในเด็ก กระดูกเปราะในผู้ใหญ่แสงแดดในตอนเช้ากระตุ้นให้ร่างกายสร้างวิตามิน D ได้ และการรับประทานปลา ไข่ ตับ เห็ด
วิตามิน EAlpha-tocopherol, Tocopherol, Tocotrienolเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยป้องกันไขมันบริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ปลายประสาทอักเสบ เม็ดเลือดแดงแตกจมูกข้าว กีวี แอลมอนด์ ไข่ ถั่ว ผักใบเขียว น้ำมันพืช
วิตามิน KPhylloquinone, Menaquinone, Menadione, Naphthoquinoneสร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด และการสลายของกระดูกการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ มีเลือดออกผักใบเขียว ฟักทอง พาร์สลีย์

เรียบเรียงโดย ภญ.มัณฑนา ไล่ชะพิษ


อ้างอิง

1.) Alexandra P.[Internet]. Vitamins: What Are They, and What Do They Do? [updated 2020 Dec 15; cited 2022 March 2]. Available from: https://www.medicalnewstoday.com

2.) Baigent MJ.[Internet]. Vitamin [updated 2022 Feb 3; cited 2022 March 2]. Available from: https://www.britannica.com

3.) Mason JB, Booth SL. Vitamins, trace minerals, and other micronutrients. In: Goldman L, Schafer AI, eds. Goldman-Cecil Medicine. 26th ed. Philadelphia, PA: Elsevier; 2020:chap 205.